พันธกิจ(Mission)

1.ยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจบนฐานการสร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรม

2.การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงานเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนา

3.เสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม วัฒนธรรมและยกระดับความเป็นอยู่เพื่อหนุนเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน

4.พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและการจัดการท่องเที่ยวที่หลากหลายบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนากลุ่มจังหวัด
1. อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมฯ แบบปริมาณลูกโซ่ (ร้อยละ)
2. สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมด แบบปริมาณลูกโซ่ (ร้อยละ)
3. จำนวนฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เพิ่มขึ้น (ร้อยละ)
4. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมฯ เฉลี่ยต่อหัว เพิ่มขึ้น (ร้อยละ)
5. อัตราการเพิ่มของรายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP (ร้อยละ)
6. สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคมต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมทั้งหมด แบบปริมาณลูกโซ่ (ร้อยละ)
7. รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ)
8. สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมด้านการท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมด แบบปริมาณ ลูกโซ่ (ร้อยละ)
9. อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคบริการ(นอกเหนือจากบริการภาครัฐ)แบบปริมาณลูกโซ่ (ร้อยละ)
10. สัดส่วนพื้นที่ปุาไม้ต่อพื้นที่กลุ่มจังหวัด(ร้อยละ)
11. ปริมาณขยะมูลฝอยลดลง(ร้อยละ)
12. จำนวนจุดความร้อน(Hotspot)ลดลง(ร้อยละ)
13. รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (ร้อยละ)
14. สัดส่วนคนจนด้านรายจ่าย (ร้อยละ)
15. อัตราพึ่งพิง (ร้อยละ)
ประเด็นการพัฒนาของกลุ่มจังหวัด
1. พัฒนาเกษตรปลอดภัย เกษตรอัจฉริยะ อาหารแปรรูปและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่าและยกระดับสู่มาตรฐานระดับสากล
วัตถุประสงค์ : พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะอาหารปลอดภัยบนความต้องการของตลาดและส่งเสริมระบบตลาดอย่างยั่งยืน
ลำดับ เป้าหมาย
1. พัฒนาผลิตภาพ ภาคเกษตร อาหารแปรรูปและอุตสาหกรรมการเกษตรมูลค่าสูงให้มีความสอดคล้องความต้องการของตลาดภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยและมาตรฐานการผลิตระดับสากล
2. ภาคเกษตร อาหารแปรรูปและภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะขับเคลื่อนอย่างสร้างสรรค์โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย
3. สร้างมูลค่ารายได้จากการเครือข่ายเกษตรอุตสาหกรรม ทั้งขนาดเล็ก กลางใหญ่ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1
ลำดับ ตัวชี้วัด
1. อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมฯ แบบปริมาณลูกโซ่ (ร้อยละ)
2. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมฯเฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ)
3. อัตราการเพิ่มของรายได้จากการจาหน่ายสินค้าOTOP (ร้อยละ)
4. สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดแบบปริมาณลูกโซ่ (ร้อยละ)
5. จำนวนฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานGAPเพิ่มขึ้น(ร้อยละ)
6. ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ และเกษตรแปลงใหญ่ที่มีมูลค่าสูงและการได้รับรองมาตรฐาน
7. ร้อยละของผลิตภาพและคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์อาหารแปรรูปที่เพิ่มขึ้นและภาคอุตสาหกรรมที่มีการบริหารจัดการที่ดีและได้รับรองมาตรฐาน
8. จำนวนโครงการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีพื้นฐานที่ส่งเสริมการเกษตรเพิ่มมูลค่าสูง
9. จำนวนโครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยเข้าสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เป็นตลาดการเกษตรที่มีศักยภาพสูง
2.ประเด็นการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง โลจิสติกส์และระบบโซ่อุปทาน สู่ศูนย์กลางอินโดจีนและภูมิภาค RCEP
วัตถุประสงค์ : เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเครือข่ายการค้า โครงข่ายการขนส่งคมนาคมและระบบ โลจิสติกส์จากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 สู่ภูมิภาคและอาเซียน
ลำดับ เป้าหมาย
1. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง1 เป็นศูนย์กลาง(Hub) การเชื่อมโยงโครงข่าย โลจิสติกส์และระบบโซ่อุปทานของอินโดจีน และภูมิภาคRCEP เพื่อยกระดับการค้า การลงทุนและสร้างรายได้
2. พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งในกลุ่มจังหวัดและการเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่นๆและต่างประเทศสู่มาตรฐานระดับสากล
ลำดับ ตัวชี้วัด
1. สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาการขนส่งสถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมด แบบปริมาณลูกโซ่ (ร้อยละ)
2. จำนวนโครงการพัฒนาศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์และยกระดับเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับโลจิสติกส์และ Supply Chain
3. ร้อยละของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งให้มีมาตรฐานที่นานาชาติยอมรับและเป็นสากล
4. ยกระดับเมืองศูนย์กลางการลงทุนด้านโลจิสติกส์
3.ประเด็นการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพลังงานสะอาด ตลอดจนอนุรักษ์ ฟื้นฟูอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
วัตถุประสงค์ :อนุรักษ์ฟื้นฟูและจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างยั่งยืนบนฐานความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ
ลำดับ เป้าหมาย
1. สร้างการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์พลังงานทดแทนอย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืนบนฐานความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์
2. พัฒนาการบริหารจัดการน้้ำของกลุ่มจังหวัดอย่างเป็นระบบเพื่อรองรับแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย
3. พัฒนาการบริหารจัดการขยะที่ได้มาตรฐานและครบวงจร
4. การจัดการฝุ่นควันคุณภาพอากาศ และผลกระทบจากไฟป่าในเขตภาคเหนือตอนล่าง
ลำดับ ตัวชี้วัด
1. สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่กลุ่มจังหวัด(ร้อยละ)
2. ปริมาณขยะมูลฝอยลดลง(ร้อยละ)
3. จำนวนจุดความร้อน(Hotspot)ลดลง(ร้อยละ)
4. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ป่าไม้
5. ร้อยละขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและมีตามหลักวิชาการ
6. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการจัดการสภาพแวดล้อมและการใช้พลังงานทดแทนในเขตเมืองและเขตท่องเที่ยว
7. ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำ
8. ร้อยละการบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยและภัยแล้ง
4. พัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน บนฐานการพัฒนานวัตกรรมและดิจิทัล และศูนย์กลางการท่องเที่ยวการบริการบนฐานนิเวศ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และมรดกโลก
วัตถุประสงค์ :พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจนวัตกรรมและดิจิตอล สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืนมีมูลค่าสูงบนฐานนิเวศ ประวัติศาสตร์ และกิจกรรมสันทนาการ
ลำดับ เป้าหมาย
1. ส่งเสริมสินค้าและบริการเศรษฐกิจสร้างสรรค์การค้าการลงทุนให้เติบโตยั่งยืน
2. พัฒนาอาชีพและธุรกิจบนฐานเทคโนโลยีนวัตกรรมและดิจิทัล
3. เป็นศูนย์กลางเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลฐานความรู้นวัตกรรมและวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มรายได้
4. เชื่อมโยงเครือข่ายนวัตกรรมและการศึกษา พร้อมดำเนินการถ่ายทอดความรู้ทั้งในและต่างประเทศ
5. ส่งเสริมการสินค้าและบริการ การส่งออก การค้าชายแดน
6. พัฒนาและสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่รองรับการท่องเที่ยวมูลค่าสูงบนเชิงนิเวศน์ สุขภาพ และประวัติศาสตร์มรดกโลก และอุตสาหกรรมไมซ์
7. สร้างมูลค่ารายได้จากการท่องเที่ยวกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง1
ลำดับ ตัวชี้วัด
1. รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ)
2. สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมด้านการท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมด แบบปริมาณลูกโซ่(ร้อยละ)
3. อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคบริการ (นอกเหนือจากบริการภาครัฐ) แบบปริมาณลูกโซ่(ร้อยละ)
4. จำนวนร้อยละผู้ประกอบการที่อยู่ในฐานตลาดDigital Market และ Startup
5. อัตราการยกระดับสินค้าและมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพและระบบสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ
6. อัตราของการเพิ่มเศรษฐกิจฐานความรู้และเศรษฐกิจดิจิทัล
7. อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของกลุ่มจังหวัด
8. จำนวนร้อยละชุมชนที่ได้รับการพัฒนายกระดับสินค้าและบริการสู่ตลาดที่มีศักยภาพ
9. อัตราของการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการด้านนวัตกรรม
10. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งภาคสินค้าและภาคการให้บริการ
11. จำนวนการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวและมรดกโลก
12. จำนวนการพัฒนากิจกรรมประกอบการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไมซ์
5.น้อมนำศาสตร์พระราชาพัฒนาคนทุกช่วงวัย ยกระดับคุณภาพชีวิต การศึกษา สาธารณสุข สร้างสังคมสุขยั่งยืนและสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม
วัตถุประสงค์ :เป็นเมืองที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบบูรณาการ อยู่ร่วมกันอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน
ลำดับ เป้าหมาย
1. ประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน บูรณาการการอยู่ร่วมกันอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืนโดยนาแนวพระราชดาริมาสู่การปฏิบัติ
2. พัฒนาคนทุกช่วงวัย ด้านคุณภาพชีวิต การศึกษา สาธารณสุขที่มีมาตรฐาน
3. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามได้รับการสืบทอด สืบสาน และการมีจิตสาธารณะ
ลำดับ ตัวชี้วัด
1. รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (ร้อยละ)
2. สัดส่วนคนจนด้านรายจ่าย (ร้อยละ)
3. อัตราพึ่งพิง(ร้อยละ)
4. ร้อยละของสถานศึกษาและสถานบริการสาธารณสุขที่ได้รับมาตรฐาน
5. อัตราการเข้าถึงการให้บริการและสวัสดิการขั้นพื้นฐานจากภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
6. ระดับดัชนีความสุขของประชาชนในกลุ่มจังหวัด
7. จำนวนโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบการศึกษาการสาธารณสุขและการสร้างเครือข่าย นวัตกรรมของกลุ่มจังหวัด
ความเชื่อมโยงของแผนงานโครงการตามกรอบแนวคิด(Value Chain)
ของแต่ละประเด็นการพัฒนา
ห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ของแต่ละประเด็นการพัฒนา ประกอบด้วย
1) มุ่งเน้นการพัฒนาระบบสนับสนุนและปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น การมุ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งคมนาคมและระบบโลจิสติกส์จากกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1 สู่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
2) มุ่งเป้าเป็นเมืองที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแบบบูรณาการร่วมกันพิจารณาให้ครอบคลุมคุณภาพชีวิตของประชาทุกช่วงวัย
3) ยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมเชิงพื้นที่เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้
4) พัฒนาผลิตภาพทางการเกษตรต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล โดยที่ไม่ละเลยการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างยั่งยืน
5) พัฒนาและส่งเสริมการตลาดในรูปแบบที่หลากหลาย เชื่อมความสัมพันธ์กับตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ร่วมสร้างช่องทางการตลาดด้วยเทคโนโลยีและส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเป็นเครือข่ายท่องเที่ยวมูลค่าสูงบนฐานนิเวศและประวัติศาสตร์
6) สร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจและสังคม และวัฒนธรรม กับประชาคมโลก การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือผ่านองค์กรต่างๆ และสร้างกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา (Key Success Factors: KSF)
1. การขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ต้องมีการร่วมมือทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องและใช้เทคโนโลยีหรือ platform เข้ามาช่วยในการดำเนินงานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. การพัฒนาเชิงนวัตกรรมอย่างมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน จะต้องดาเนินภายใต้ความเข้มข้นและกรอบเวลาที่เร่งด่วน เพื่อให้ได้การแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์และเกิดการพัฒนาเชิงสังคมร่วมกับเศรษฐกิจ เป็นหัวใจของการสร้างและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงอย่างยั่งยืน
3. การพัฒนาคุณภาพและศักยภาพมนุษย์จะต้องดาเนินการให้ครบทุกช่วงวัย เพราะเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนประเทศให้ได้ขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นโดยตรง และเป็นแนวทางสู่ความยั่งยืนด้านต่างๆในอนาคต
4. การเชื่อมโยงเครือข่ายและสร้างความสัมพันธ์ในระดับภูมิภาคจะช่วยให้เกิดการกระจายและสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุนที่มีศักยภาพอย่างสูงโดยเฉพาะการเชื่อม LIMEC เข้าสู่ One belt one road ทาให้เกิดการเคลื่อนย้ายทั้งทุน แรงงาน เทคโนโลยี และโอกาสการพัฒนาร่วมระดับโลกต่อไป